RSS

About Me

ภาพถ่ายของฉัน
ladystar
Basic basic. But,difficult to understand me.
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

Lady_Slides Show

Backward Design Teaching

การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ  Backward Design
หลักการของ  Backward  Design
          กระบวนการออกแบบแบบย้อนกลับ (Backward  Design) ของ Wiggins และMcTighc เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุด  จากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้  (Performances)  ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้               
         กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน  3 ขั้นตอน                 
              ขั้นตอนที่  1          การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์               
              ขั้นตอนที่  2          การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์               
              ขั้นตอนที่  3          การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการสอน
                แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า
               ขั้นตอนที่  1          อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
                ขั้นตอนที่  2          อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
                 ขั้นตอนที่  3          ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุนทำให้เกิดความเข้าใจ ความสนใจ และความยอดเยี่ยมในหลักฐานนั้นๆ 
ขั้นตอนที่  1    :   การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์  ( อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า )               
               การใช้หลักการออกแบบแบบย้อนกลับ  อันดับแรกครูผู้สอนควรทำคือการให้ความสำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning  goals)  หรือเป้าหมายของความเข้าใจ ความเข้าใจที่ว่านี้คือ ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืน (Enduring Understanding)  ที่ครูผู้สอนทุกคนต้องการให้นักเรียนของพวกเขาได้รับการพัฒนาไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง  ตามลำดับขั้นการเรียนรู้  บรรลุผลที่สำเร็จสมบูรณ์ที่สุด   สิ่งนี้ก็เป็นจุดเน้นสำคัญที่จะขาดเสียมิได้  รวมทั้งแนวทางดำเนินการชุดคำถาม  ที่สำคัญด้วยเช่นกัน ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะต่างๆ ที่มุ่งไปสู่ความคิดรวบยอดใหญ่ๆ   หลักการต่าง ๆ  หรือกระบวนการต่าง ๆ                
ตัวอย่าง   ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนในตัวผู้เรียน  และชุดคำถามที่สำคัญ  หรือแนวทาง ชุดคำถาม  ประกอบด้วย
Ÿ     เรามีวิธีการใดที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้เท่าทียมกัน ?
Ÿ     มีวิธีการใดที่จะดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ?
Ÿ     มีวิธีการใดที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองจะดำรงชีวิตอย่างไรในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงWiggins  and  McTighe  เสนอแนะให้ใช้เครื่องกรอง “Filters”  เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปคือ
Ÿ     เป็นตัวแทนความคิดที่สำคัญ (big idea) มีคุณค่าฝังแน่นฝังใจมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าในระดับชั้นเรียน
Ÿ     เป็นหัวใจที่สำคัญที่บรรจุลงลงในรายวิชา (ซึ่งมีผลต่อการลงมือทำ”  ในเนื้อหาวิชา)
Ÿ     ต้องไม่จำกัดขอบเขต (เพราะว่ามันเป็นนามธรรมและทำให้เกิดความคิดที่เข้าใจผิดอยู่เป็นประจำ)
Ÿ     สนับสนุนความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวผู้เรียน                  
ขั้นตอนที่ 2     :   การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์   (อะไรคือหลักฐานพยานของความเข้าใจ )                               
          ครูผู้สอนต้องตัดสินใจต่อไปว่า ความเข้าใจเหล่านี้  นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิต, แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง  Wiggins and Mctighe ได้ให้รายละเอียดของความเข้าใจ ประการ (Six  facets  of understandingโดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง  เมื่อนักเรียนสามารถ 
Ÿ    อธิบายชี้แจงเหตุผล (can  explain)
Ÿ    แปลความตีความ (can interpret)
Ÿ    ประยุกต์ (can apply)
Ÿ    มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง (have  perspective)
Ÿ    สามารถหยั่งรู้มีความรู้สึกร่วม (can empathise)
Ÿ    มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง (have self – knowledge)
          ทั้ง 6 ด้านของความเข้าใจสามารถช่วยสนับสนุน  ให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติของความเข้าใจและมีหนทางหลากหลาย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปเกี่ยวกับความเข้าใจ  เพื่อความสมเหตุสมผลกับรูปแบบการเรียนรู้(Learning  styles)  นักเรียนจะนิยมชมชอบบางข้อเท็จจริง  ในส่วนของกระบวนการวางแผนนี้ อะไรที่ทำให้ “backward  design” แตกต่างจากกระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจต่าง ๆ  คณะครูผู้สอนมีความจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน  ในขณะเดียวกันก็เน้นถึงความสำคัญให้เกิดความชัดเจน ในการพัฒนาผลงาน / ภาระงานความสามารถ (Performance  tasks) ด้วย  Wiggins  and  Mctighe สนับสนุนความพอเหมาะที่ได้สัดส่วนของการใช้การประเมินผล ซึ่งเป็นการใช้การประเมินผลที่มากกว่าแบบดั้งเดิม อันประกอบด้วย  การสังเกต  การสอบย่อย  การใช้แบบสอบประเภทต่างๆ  เป็นต้นการกำหนดแนวทางเพื่อใช้คัดเลือกขอบเขตของการประเมินผล ผลงาน/ภาระงานต่าง ๆ  และการแสดงความสามารถต่างๆ  ต้อง
Ÿ    สนับสนุน ช่วยเหลือให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความเข้าใจ (Developing  understand) 
Ÿ    ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ  อธิบายถึงความสามารถในความเข้าใจผลงาน / ภาระงาน (tasks)  ต้องมีการจำแนกแยกแยะและระดับของความแตกต่างหรือชั้นของความเข้าใจอีกด้วย
          วิธีการ Backward Design กำหนดให้ครูคิดเหมือนนักประเมินผลครูจะเริ่มการวางแผนการเรียนรู้ด้วยการคิดถึงหลักฐานที่จะบ่งชี้ว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและต่อเนื่อง
ขอเน้นถึงความสำคัญ   การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และควรจะมีอยู่ (มีการประเมินผลอยู่ตลอด) ตั้งแต่ต้น จนจบของลำดับขั้นตอน  มิใช่นำมาใช้เมื่อจบหน่วยหรือจบรายวิชาเท่านั้น 
ขั้นตอนที่ 3     :   การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการสอน  ( อะไรคือประสบการณ์การเรียนรู้และจะสอนอย่างไร )
                 เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้ว ผู้สอนสามารถเริ่มวางแผนการเรียนการสอนได้ โดยอาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้
1.  ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.  กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
3.  สื่อการสอนอะไรจึงจะเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น
4.  การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่  
โดยสรุปการออกแบบตามวิธีการ  Backward Design  จะมีประเด็นหลักดังนี้ 

ตารางสรุปประเด็นหลักในการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
ารางสรุปประเด็นหลักในการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
ประเด็นหลัก
ข้อคำนึงในการออกแบบ
เกณฑ์ในการกลั่นกรอง
ผลงานการออกแบบจะได้อะไร
ขั้นตอนที่ 1อะไรที่มีคุณค่าควรแก่การสร้าง         ความเข้าใจ
-    มาตรฐานชาติ
-    มาตรฐานพื้นที่
-    ประเด็นท้องถิ่น
-    ความชำนาญและความสนใจของครู
-    แนวคิดที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ได้อย่างยั่งยืน
-    โอกาสที่จะทำโครงงานตามสาระนั้น
-        โอกาสที่จะเรียนรู้ในสภาพจริง
-    ประเด็นที่ควรทำความเข้าใจเป็นพิเศษ
หน่วยการเรียนรู้ที่จะสร้างความเข้าใจที่ยั่งยืนและกระตุ้นให้คิดในประเด็นหลัก 
ขั้นตอนที่ 2อะไรคือหลักฐานว่าได้เกิดความเข้าใจ   ตามที่กำหนดไว้
-    ความเข้าใจ ๖ ด้าน
-    การประเมินผลที่ต่อเนื่องกันในหลากหลายรูปแบบ
-    ความตรงประเด็น
-    ความเที่ยงตรง
-    ความเป็นไปได้
-    ความพอเพียง
 -    สภาพความเป็นจริง
-    เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
หน่วยการเรียนที่คำนึงถึงหลักฐานของผลการเรียน ที่เน้นความเข้าใจและเป็นหลักฐานที่มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักวิชา 
ขั้นตอนที่ 3กิจกรรมการเรียนการสอนใด  ที่จะสร้างเสริมความเข้าใจความสนใจ  และความเป็นเลิศ
-    ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนที่วางอยู่บนพื้นฐานงานวิจัย -    เนื้อหาสาระและทักษะที่จำเป็นและเอื้อต่อการเรียนอื่นๆ
วิธีการที่ใช้ชื่อย่อว่า WHERE
-               Where จะไปสู่เป้าหมายอะไร
-       Hook  จะตรึงผู้เรียนได้อย่างไร
-       Explore และ Equip  จะช่วยผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะแสวงหาความรู้อย่างไร
-       Rethink จะทบทวนอย่างไร
-        Evaluate และ Exhibit จะประเมินผลและนำเสนอผลงานอย่างไร


หน่วยการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สอดประสานกัน  เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ ความสนใจและความเป็นเลิศของผู้เรียน 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Love Mom !!!!!